วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 14 แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ

แบบฝึกหัดบทที่ 14
      1. จงยกตัวอย่างของการปรับองค์การในยุคสารสนเทศ
        ตอบ - องค์กรขนาดใหญ่ปรับตัวเป็นกลุ่มองค์กรขนาดย่อม เพื่อความคล่องตัวการปฏิบัติงาน การประสานงาน การแข่งขัน และรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
                - มีการสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยที่ผู้จัดการหรือหัวหน้างานจะเปลี่ยนแปลงหน้าที่จากผู้สั่งการมาเป็นผู้ฝึกสอน ผู้ประสานงาน และอำนวยความสะดวกในการทำงาน
               - ระบบการเข้าทำงานแบบยืดหยุ่นจะถูกนำมาใช้ แรงงานบางส่วนสามารถทำงานอยู่ที่บ้าน ขณะที่หลายฝ่ายสามารถเลือกเวลาทำงานและเลือกงานที่เหมาะสมได้เอง
      2. เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อการปรับโครงสร้างหรือการรื้อปรับระบบขององค์การอย่างไร
ตอบ กิจกรรมทางธุรกิจก็ต้องมีเปลี่ยนแปลงตามการพลวัตของสังคมที่ถูกผลักดันด้วนเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น กิจกรรมทางการเงินที่ต้องกระทำต่อเนื่องตลอดทั้งวันทั้งคืนการผลิตและการตลาดต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีหลากหลายขึ้น ช่องทางการจัดจำหน่ายจะมีมากขึ้นกว่าในอดีต
      3. ผู้บริหารสมควรจะเตรียมความพร้อมในการนำองค์การเข้าคู่ยุคสารสนเทศอย่างไร
ตอบ 3.1 ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ตลอดจนทำความเข้าใจบทบาทของเทคโนโลยีใหม่ที่จะมีผลกระทบต่อองค์การละอนาคต
          3.2 พิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และกำลังจะเกิดขึ้นในแต่ละหน่วยงาน โดยเฉพาะความต้องการทางด้านข้อมูลข่าวสาร เพื่อหาแนวโน้มความต้องการ จัดทำแผน แลแนวการพัฒนาเทคโนโลยีขององค์การ
          3.3 เตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและงบประมาณ เพื่อรองรับต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้เนื่องจากการจัดการเทคโนโลยีไม่สามารถใช้เงินซื้อหามาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความเข้าใจในศักยภาพและความพร้อมของบุคลากรประกอบด้วย
4. เทคโนโลยีที่มีผลต่อการดำเนินงานขององค์การมีอะไรบ้าง
ตอบ  - การปรับปรุงรูปแบบการทำงานขององค์การ
          - การสนับสนุนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์
         - เครื่องมือในการทำงาน
           - การเพิ่มผลผลิตของงานโดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
           - เทคโนโลยีในติดต่อการสื่อสาร
5. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีผลต่อการดำเนินงานองค์การอย่างไร
ตอบ โดยที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะนี้มีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในสมัยก่อน ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์ชนิดชุดคำสั่ง (Reduced Instruction Set Computer) หรือ RISC มาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล นอกจากนี้พัฒนาการและการประยุกต์และการประยุกต์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ สมหลักเหตุผลของมนุษย์หรืระบบปัญญาประดิษฐ์
6. เทคโนโลยี RISC มีผลต่อพัฒนาการของคอมพิวเตอร์ในอนาคตอย่างไร
 ตอบ    ใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้นโดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ
7. จงอธิบายความหมายและประโยชน์ในการใช้งานของระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์                       
  ตอบ  ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์ทางด้านรูปภาพ และข้อมูลทางภูมิศาสตร์มาจัดแผนที่ในบริเวณที่สนใจ GIS สามารถนำมาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการต่างๆ เช่น การวางแผนยุทธศาสตร์ การกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศและท้องถิ่น การวางแผนทางการตลาด การบริหารการขนส่ง การสำรวจและวางแผนป้องกันภัยธรรมชาติ การช่วยเหลือแลกู้ภัย เป็นต้น
8. เหตุใดผู้บริหารระดับสูงจึงเป็นหัวใจสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ
ตอบ  เพราะผู้บริหารจะต้องกำหนดนโยบาย กำหนดกลยุทธ์ วางแผนต่าง ๆ ในบริษัท และผู้บริหารก็ต้องมความเข้าใจในเทคโนโลยีอีกด้วยเพื่อที่จะไปพัฒนาบริษัทให้ดีขึ้น
9. ปัจจุบันคนไทยมีความพร้อมในการก้าวไปสู่สังคมสารสนเทศเพียงไร โดยเฉพาะความรู้และความเข้าใจในศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ
    ตอบ    - ทำความเข้าใจต่อบาบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจปัจจุบัน
                - ระบบสารสนเทศเกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลขององค์การ
                - วางแผนที่จะสร้างและพัฒนาระบบ
10.จงยกตัวอย่างปัญหาด้านจริยธรรมหรือความรับผิชอบต่อสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
      ตอบ   การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อส่วนรวม เช่นดารไหลเวียนของข้อมูลผ่านขอบเขตตัวของพนังงาน การทุจริตหรือฉ้อโกงในระบบเครือข่าย การก่อการร้ายหรืหารจารกรรม เป็นต้น

แบบฝึกหัดบทที่ 13

แบบฝึกหัดบทที่ 13
1.จงอธิบายความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ตอบ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการดำเนินธุรกิจโดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่นการซื้อขายสินค้า ข้อมูล และบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือการโอนเงินทาอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

2. เพราะเหตุใดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกเครื่องมือและกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญในการช่วยให้องค์การมีการได้เปรียบคู่แข่ง
ตอบ เพราะพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการดำเนินธุรกิจโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จึงทำให้ลดค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ เช่น ค่าเช่าอาคาร ค่าจ้างพนักงานขาย เป็นต้น จึงช่วยในองค์กรลดต้นทุนในการผลิตลง
3. ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำแนกได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ ประเภทของพาณิชย์อิกทรอนิกส์ จำแนก 4 ประเภท
               1. ธุรกิจกับธุรกิจ(Business to Business B2B ) เป็นการดำเนินธุรกิจระหว่างธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยกัน โดยอาจเป็นผู้ประกอบการในระดับเดียวกันหรือระดับต่างกัน
               2. ธุรกิจกับผู้บริโภค(Business to ConsumerB2C) เป็นการดำเนินธุรกรรมระหว่างธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค ในรูปแบบที่ผู้บริโภคสามารถสอบถามข้อมูลและเลือกสินค้าผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
               3. ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government B2G) เป็นการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานราชการผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ธุรกิจที่ทำธุรกรรมกับหน่วยงานราชการจะติดตามข้อมูลข่าวสสารและประมวลการจัดหาสินค้า หรือโครงการต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
               4. ผู้บริโภคกับผู้บริโภค(Consumer to ConsumerC2C) เป็นการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค มีการพูดคุยเป็นการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขานสินค้าในรูปแบบการประมูลสินค้า
4. พาณิชอิเล็กทรอนิกส์มีข้อแตกต่างไปจากการดำเนินธุรกิจทั่วไปอย่างไร
    ตอบ - การเพิ่มประสิทธิภาพละประสิทธิผล
             - การตอบสนองเพื่อการแข่งขัน
             - การให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
             - การควบคุมและปฏิสัมพันธ์ได้ด้วยตนเอง
             - การสร้างร้านค้าเสมือนจริง
             - การติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภค
             - โครงข่ายเศรษฐกิจ
             - การส่งเสริมภาพลักษณ์อันดี
5. หลักการตลาดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย อะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ 1. ผลิตภัณฑ์ (Product) สินค้าหรือผลิตภัณฑ์จะต้องตามความต้องการของลูกค้าทั้งด้านคุณภาพ รูปแบบ สีสัน และประโยชน์ใช้สอย รวมไปถึงตรายี่ห้อสินค้า
         2. ราคา (Price) การตั้งราคาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งสำคัญในการดึงดูดใจลูกค้าดังนั้นควรตั้งราคาสินค้าให้เหมาะสมตลาดละผู้บริโภค
         3.ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) การหาทำเลที่ดีเป็นองค์ประกอบที่สามารถตัดสินได้ว่าธุรกิจจะรุ่งเรืองหรือไม่ แต่เว็บไซต์พาณิชอิเล็กทรอนิกส์ การหาทำเลเทียบได้กับการตั้งชื่อร้าน ศัพท์ทางอินเตอร์เน็ตเรียกว่า โดเมนเนม ดังนั้นทำเลการค้าทาอินเทอร์เน็ตจึงไม่ได้หมายถึงที่ตั้งของร้าน การจดทะเบียนโดเมนเนมจึงควรเลือกชื่อที่จดจำได้ง่าย และสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์
         4. การส่งเสริมการขาย (Promotion) กระบวนการที่จะทำให้สินค้าได้มาก ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อลูกค้า หรือแม้แต่การโฆษณาชวนชื่อด้วยการลด แลก แจก และแถมสินค้า เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อสนองความต้องการของลูกค้านั่นเอง
         5. การรักษาความเป็นส่วนตัว (Privacy) คือการเก็บข้อมูลความเป็นส่วนตัวของลูกค้า เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขบัตรเครดิตหรืออีเมล์ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับเว็บไซ์ ดังนั้นผู้ดูแลเว็บไซ์จึงจเป็นต้องสร้างระบบรักษาความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ว่าข้อมูลเหล่านี้จะไม่ถูกจรรกรรมออกไปได้ ในส่วนตัวผู้ขายเองนั้น ก็จะต้องระบุนโยบายเกี่ยวกับการรักษาความเป็นส่วนตังของลูกค้าคือ Privacy Policy ให้ชัดเจนบนเว็บไซ์ และปฏิบัติตามกฎนั้นอย่างเคร่องครัด
        6. การให้บริการแบบเจาะจง (Personalization)เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทำให้เว็บไซ์สามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าแต่ละคนได้ และสามารถให้บริการแบบเจาะจงกับลูกค้าแต่ละรายได้ สามารถเข้าใจพฤติกรรม หรือความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ทำให้สามารถนำเสนอบริการต่าง ๆ ที่ตรงกับความต้องการแบบเจาะจงบุคคล และสามารถสร้างสินค้าและบริการจากพื้นฐานความต้องการของลูกค้าแต่ละบุคคลจริง ๆ
6. จงยกตัวอย่างข้อดีของพาณิชอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ - สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เป็นจำนวนมากจากทั่วทุกมุมโลก
         - สามารถจัดหาสินค้าและบริการจากผู้จำหน่ายแหล่งต่าง ๆ ได้โดยตรงและรวกเร็ว
         - สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการสื่อสารเนื่องจากคุณประโยชน์อินเตอร์เน็ต
         - องค์กรที่มีขนานเล็กสามารรถดำเนินธุรกิจแข่งขันกับองค์การที่มีขนาดใหญ่ได้
         - สามารถสร้างผลประกอบการที่เป็นกำไรเพิ่มมากขึ้น
7. จงยกตัวอย่างข้อเสียของพาณิชอิเล็กทรอนิกส์
    ตอบ - มาตรฐานด้านคุณภาพ ความปลอดภัย ผ่านทางฟังก์ชันระบบงาน สอบถาม กระทู้ สนทนา หรือแม้แต่ห้องสนทนา
             - ตัวบทกฎหมายในบางมาตราและด้านภาษียังไม่ได้รับกาปรับปรุงให้มีความเหมาะสม
             - นโยบายของเกี่ยวกับกฎเกณฑ์และมาตรฐานต่าง ๆ ยังไม่สอดคล้องและเหมาะสม
             - ผู้ขายและผู้ซื้อยังมีความกังวลด้านความปลอดภัยของพาณิชอิเล็กทรอนิกส์
             - ลูกค้ายังไม่เชื่อมั่นเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า เนื่องจากไม่สามารถมองเห็นและจับต้องสินค้าได้
             - ลูกค้าบางส่วนยังชอบวิธีการสั่งซื้อสินค้าและบริการในลักษณะแบบเห็นหน้าตากัน
8. ปัญหาที่พบในการดำเนินงานของระบบพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย มีอะไรบ้าง
ตอบ  - ความไม่ปลดอภัยของข้อมูล ในกรณีที่ลูกค้าใช้บัตรเครดิตในการซื้อสินค้าจากเว็บไซต์เจ้าของธุรกิจจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของลูกค้า ซึ่งนั่นอาจหมายถึงการเสียค่าใช้จ่ายมาขึ้น และการใช้วิธีที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน จนลูกค้าอาจจะต้องปวดหัวกับความยุ่งยาก จึงต้องมีการพัฒนาขั้นตอนต่าง ๆ ให้ง่ายขึ้น แต่มีความปลอดภัยสูงสุด
         - ในประเทศไทยยังขาดความสะดวกในเรื่องของพาณิชอิเล็กทรอนิกส์อยู่บางประการ เช่น การไม่มีธนาคารที่รองรับความเสี่ยงในการประกอบการชำระเงินจากพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
          - การที่ลูกค้าเกิดความไว้วางใจในการซื้อผ่านระบบอินเตอร์เน็ต และความลอดภัยของข้อมูลไม่มากเท่าที่ควร
          - รัฐบาลยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการดูแลพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ที่เพียงพอในการควบคุมซื้อขายผ่านเว็บไซต์ทั้งรายใหญ่และรายย่อย
           - ลูกค้ายังขาดความรู้เรื่องกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ต ส่วนในกรณีที่ลูกค้าอยู่ต่างประเทศการบังคบใช้กฎหมายยังมีความสับสนว่าจะต้องใช้ของประเทศใดเป็นหล

แบบฝึกหัดบทที่ 12 เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ธุรกิจ

แบบฝึกหัดบทที่ 12 เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ธุรกิจ

1. เหตุใดองค์การส่วนใหญ่จึงเริ่มพัฒนาระบบสารสนเทศจากความต้องการการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน มากกว่าความต้องการสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์
ตอบ     เพราะการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ดีจะทำให้องค์การมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานต่างๆได้ และอาจจะทำให้องค์การได้เปรียบคู่แข่ง ในด้าน
2. ความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) คืออะไร และเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง
ตอบ     ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของธุรกิจภาคเอกชนกลยุทธ์ในการแข่งขันก็คือการค้นหาความได้เปรียบในการแข่งขันซึ่งจะนำไปสู่การควบคุมตลาด หรือการได้กำไรที่มากกว่าที่บริษัทอื่นทำได้ตามปกติกลยุทธ์เช่นนั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้บริษัทสามารถได้กำไรได้อย่างยั่งยืนเหนือกว่าคู่แข่งเมื่อบริษัทคู่แข่งรู้จักใช้ไอทีเหมือนกับเราก็จะทำให้เป็นเรื่องยากที่เราจะรักษาความได้เปรียบเอาไว้ได้ตลอดไปการเกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีอาจทำให้คู่แข่งขันสามารถพัฒนาระบบใหม่ๆได้ในเวลาอันสั้นและทำให้นวัตกรรมที่สร้างขึ้นเมื่อปีก่อนกลายเป็นเรื่องล้าสมัยไปได้โดยปกติแล้วระบบสารสนเทศจะไม่สามารถช่วยให้บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนได้การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ถือได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญเนื่องจากปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันกันสูงมาก ประกอบปัจจัยที่นอกเหนือการควบคุมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่นการเปิดเสรีทางการค้า (FTA) ดอกเบี้ยและน้ำมันมีแนวโน้มราคาสูงขึ้นการหลั่งไหลของสินค้าจากประเทศจีนเป็นต้นดังนั้นผู้บริหารจำเป็นจะต้องมีกลยุทธ์ที่ดีที่จะสามารถแข่งขันทั้งในและต่างประเทศได้
3. องค์การจะสามารถธำรงรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันโดยเฉพาะด้านสารสนเทศอย่างไร
ตอบ      การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสร้างผลกระทบที่สำคัญต่อการดำรงอยู่และการเจริญเติบโตของธุรกิจ องค์การธุรกิจต้องสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเทคโนโลยีสารสนเทศที่เคยถูกนำมาใช้เสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรมตามหน้าที่ทางธุรกิจ เช่น การเงิน การตลาดการดำเนินงาน และทรัพยากรบุคคลได้รับความสนใจนำมาใช้ประกอบการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Operations) เพื่อพัฒนาและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Ability) ขององค์การ
4. จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระบบสารสนเทศ กลยุทธ์ และโครงสร้างขององค์การ
ตอบ    โครงสร้างขององค์การธุรกิจสามารถพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์การซึ่งประกอบไปด้วย
ฐานข้อมูลต่างๆขึ้นใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ท่านมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเปรียบเทียบความแตกต่างในประเทศไทยและสหรัฐ
ตอบ    ผู้บริหารไทยไม่ด้อยกว่าด่างชาติ ขอเพียงแต่ผู้บริหารไทยศึกษาหาความรู้ในนวัตกรรมใหม่ๆ (New Innovation) และศึกษาการวางแผนกลยุทธ์ต่างๆ
6.ผู้บริหารสมควรทำอย่างไร เพื่อให้ทราบความต้องการด้านสารสนเทศขององค์การในอีก 5 ปีข้างหน้า
ตอบ     องค์การที่จะอยู่รอดและมีพัฒนาการต้องสามารถยู่ปรับตัวและจัดการกับเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคตเพื่อให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การได้ศึกษาแต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศอาจทำให้เทคโนโลยีที่กล่าวถึงในที่นี้ล้าสมัยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารที่สนใจจะต้องศึกษาติดตามความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
7. จงอธิบายบทบาทของผู้บริหารระดับสูงที่มีต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ
ตอบ     ผู้บริหารระบุความต้องการสารสนเทศได้ชัดเจนและนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
1. ผู้บริหารต้องหาแนวทางในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ เช่น วิศวกรรมคู่ขนาน (Concurrent Engineering) โดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ (Computer Aided Design , CAD) ใน การออกแบบ พัฒนาและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในเวลาเดียวกัน เป็นต้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพ มีความทันสมัยและสอด คล้องความต้องการของลูกค้า ตลอดจนสนับสนุนการจัดโครงสร้างองค์การ ให้สามารถ ใช้ทรัพยากร ร่วมกัน และสอดคล้องกัน
2. ผู้บริหารต้องส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการต่อเชื่อมระหว่างหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกองค์การ เพื่อให้การสื่อสาราข้อมูลมีความสะดวกรวดเร็วถูกต้องและทั่วถึงซึ่งจะทำให้บุคคลเกิดความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความรู้สึกที่ดีต่อเทคโนโลยีสารสนเทศนอกจากนี้ผู้บริหาร
3.ผู้ บริหารต้องวางแผนความสำเร็จของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานขององค์การธุรกิจ เกิดจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Infrastructure) ที่สอดคล้องกับสถานการณ์และกลยุทธ์ขององค์การ
8. เหตุใดองค์การจึงต้องกำหนดความต้องการก่อนและหลังด้านสารสนเทศ
ตอบ      เพื่อให้ทราบว่าองค์การต้องการอะไร เป้าหมายขององค์การเป็นอย่างไรเพื่อที่จะวางแผนและปฏิบัติงานให้ตรงตามเป้าหมาย
9. เราสามารถประเมินคุณภาพของการดำเนินการด้านสารสนเทศในแต่ละองค์การได้อย่างไร
ตอบ      - พิจารณาว่าเป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการของเราอย่างแท้จริงหรือไม่
- พิจารณาว่าเป็นสารสนเทศที่น่าเชื่อถือหรือไม่
- พิจารณาว่าเนื้อหาของสารสนเทศอยู่ในระดับใด
10. เหตุใดธุรกิจจึงต้องจัดตั้งคณะกรรมการด้านสารสนเทศขึ้น เพื่อทำการตัดสินใจในงานสำคัญด้านสารสนเทศขององค์การ
ตอบ     เพราะจะได้บุคลากรที่มีความรู้ในงานเฉพาะด้านและการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

แบบฝึกหัดบทที่ 11 ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

แบบฝึกหัดบทที่ 11 ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

1. เหตุใดผู้บริหารระดับสูงสมควรต้องมีความเข้าใจในเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ     เพื่อได้มีความพยายามเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ สร้างโอกาสในการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การและผู้บริหารสามารถจัดการกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ
2.จงอธิบายขั้นตอนในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในองค์การ
ตอบ     ขั้นตอนในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในองค์การ คือ การกำหนดกลยุทธ์, กำหนดแผนงานสารสนเทศระดับองค์การ, ปริมาณโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศและกำหนดรายละเอียดดำเนินงาน
3.ระบบสารสนเทศด้านบัญชีมีลักษณะอย่างไร และสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการอย่างไร
ตอบ     มีลักษณะเป็นระบบที่รวบรวมจัดระบบและนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้สารสนเทศ และมีความสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการคือมีการจัดสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหาร และจะประมวลผลสารสนเทศ
4.ระบบสารสนเทศด้านการเงินจะมีหน้าที่อะไรบ้าง
ตอบ    มีหน้าที่ที่สำคัญ   3   ประการคือ 
 1.การพยากรณ์ (Forecast) การศึกษา วิเคราะห์ การคาดการณ์ การกำหนดทางเลือกและการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ
2.การจัดการด้านการเงิน (Financial   Management) เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับรายจ่าย
3.การควบคุมทาการเงิน (Financial control)   เพื่อติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินความเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมทางการเงินของธุรกิจสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้
1.การควบคุมภายใน  (Internal   Control)
2.การควบคุมภายนอก (External   Control)
5.ระบบย่อยของระบบสารสนเทศด้านการตลาดมีอะไรบ้าง
ตอบ    ระบบย่อยของระบบสารสนเทศด้านการตลาดมี   8  ระบบดังนี้
1.ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการขาย
2.ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด
3.ระบบสารสนเทศสำหรับการส่งเสริมการขาย
4.ระบบสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ
5.ระบบสารสนเทศสำหรับพยากรณ์การขาย
6.ระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนกำไร
7.ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา
8.ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย
6.เราสามารถหาข้อมูลเพื่อประกอบการวางแผนการผลิตและการดำเนินงานขององค์การได้จากแหล่งใดบ้าง? จงอธิบายอย่างละเอียด
ตอบ       1.ข้อมูลการผลิต/การดำเนินงาน (Production/Operations Data) เป็นข้อมูลจากกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ ซึ่งจะแสดงภาพปัจจัยของระบบการผลิตของธุรกิจว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด และมีปัญหาอย่างไรในการดำเนินงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนในการแก้ปัญหา และการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานในอนาคต
2.ข้อมูลสินค้าคงคลัง (Inventory Data) บันทึกปริมาณวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปที่เก็บไว้ในโกดัง โดยผู้จัดการต้องพยายามจัดให้มีสินค้าคงคลังในปริมาณไม่เกินความจำเป็นหรือขาดแคลนเมื่อเกิดความต้องการขึ้น
 3.ข้อมูลจากผู้ขายวัตถุดิบ  (Supplier Data) เป็นข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณ คุณสมบัติและราคาวัตถุดิบ  ตลอดจนช่องทางและต้นทุนในการลำเลียงวัตถุดิบปัจจุบันการพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange)หรือที่เรียกว่า EDI ช่วยในการประสานงานระหว่างผู้ขายวัตถุดิบ ธุรกิจ และลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น
4.ข้อมูลแรงงานและบุคลากร  (Labor Force and Personnel Data) ข้อมูลเกี่ยวกับพนักงานในสายการผลิตและปฏิบัติการ เช่น อายุ การศึกษา และประสบการณ์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดบุคลากรให้สอดคล้องกับงาน ขณะที่ข้อมูลภายนอกเกี่ยวกับตลาดแรงงานจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนและจัดหาแรงงานทดแทน และการกำหนดอัตราค่าจ้างอย่างเหมาะสม
5.กลยุทธ์องค์การ (Corporate Strategy) แผนกกลยุทธ์ขององค์การจะเป็นแม่แบบและแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การผลิตและการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
7.ระบบการวางแผนความต้องการวัสดุหรือ MRP คืออะไร และมีประโยชน์ต่อการบริหารการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างไร
ตอบ     MRP คือ   ระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบการผลิต เพื่อประกอบการวางแผนความต้องการวัสดุ เพื่อให้ธุรกิจสามารถจัดการวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ และมีประโยชน์ต่อการบริหารการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมคือ ลดการขาดแคลนวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิต, ประหยัดแรงงาน เวลา และค่าใช้จ่ายในการติดตามวัตถุดิบ เป็นต้น
8.ข้อมูลจากแผนกกลยุทธ์ขององค์การเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจอย่างไร
ตอบ    สามารถทำให้การผลิตและการดำเนินงานมีประสิทธิภาพมาก
9.เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการจัดการทรัพยากรบุคคลอย่างไร
ตอบ   เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในเรื่องการดำเนินงานช่วยให้งานทรัพยากรบุคคลมีประสิทธิภาพมากขึ้น
10.จงยกตัวอย่างความสำคัญของระบบสารสนเทศที่มีต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ
ตอบ    การตัดสินใจในเรื่องของค่าจ้างและสวัสดิการ