วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

จริยะธรรม

ในยุคที่พลังงานมีราคาแพง สภาพแวดล้อมเป็นพิษ การกำจัดขยะทำได้ยากขึ้นและบทบาทของพลาสติกเข้ามาแทนที่ในชีวิตประจำวัน ทำให้ผู้บริโภคคำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและเกิดกระแสสำนึกต่อสภาพแวดล้อม เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้นักการตลาดทั้งหลายต่างต้องแสวงหาโอกาสทางการตลาดเพื่อความเป็นผู้นำ สร้างนวัตกรรม ความแตกต่างทางการแข่งขัน
     นอกจากนั้นยังต้องมองหาเครื่องมือทางการตลาดที่คืนกำไรให้กับสังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเรียกว่าการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Marketing) แนวคิดนี้ ทำให้ผู้บริโภคคำนึงถึงต้นทุนของ "คุณค่า" ในการเลือกใช้สินค้าที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและธุรกิจต้องรับผิดชอบต่อสังคม ในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและสภาพแวดล้อม การดำเนินงานทางการตลาดจึงต้องใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ อย่างจริงจังมากขึ้น รวมทั้งยังต้องส่งเสริมสร้างสรรค์ให้เกิดผลดีต่อสังคมโดยรวมยิ่งๆ ขึ้นไป
กลยุทธ์ Green Marketing มีหลักคิดอยู่ 7 ประการ
1.               ธุรกิจต้องทำการบ้านในเรื่องของสิ่งแวดล้อมใหม่ทั้งด้านข้อกฎหมาย การเมือง เทคโนโลยี สังคม วัฒนธรรม            เรียกอีกอย่างว่าคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับองค์กร (Stakeholders)
  2. การผลิตสินค้าต้องให้ได้คุณภาพทั้งตัวสินค้าและการขจัดสิ่งแวดล้อม
     3. ให้ทางเลือกแก่ประชาชนผู้บริโภคในการที่จะได้รับคุณค่าและคุณประโยชน์
     4. สร้างความน่าเชื่อถือทางการตลาด
     5. ดึงสมาคมชมรมสิ่งแวดล้อมมาร่วมมือกันพัฒนาและรับประกันคุณภาพ
     6. ทำการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจอันดีกับสังคมว่าธุรกิจมีการรักษา สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้คุณค่าของบริษัทและสินค้าดีขึ้น
7. อย่าเบื่อจนกว่าจะทำให้ "โลกสะอาด"

กรีนมาร์เก็ตติ้งกับส่วนประสมทางการตลาด
     แนวคิดกรีนมาร์เก็ตติ้งสามารถนำส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) คือ ผลิตภัณฑ์ Product) ราคา (Price) การจัดจำหน่าย (Place) และการส่งเสริมการตลาด (Promotion) มาใช้เป็นเทคนิคทางการตลาดได้

      ในด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ต้องเริ่มตั้งแต่การผลิตสินค้า คือ การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หรือการลงทุนเพิ่มเพื่อปรับให้กระบวนการผลิตสินค้าในทุกขั้นตอนทุกกระบวนการ ที่จะไม่สร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม หรือติดตั้งอุปกรณ์ในการป้องกันและขจัดของเสียที่เกิดจากการผลิต เช่น การติดตั้งและใช้งานเครื่องกรองอากาศขนาดใหญ่ เครื่องบำบัดน้ำเสีย    ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ธุรกิจลดต้นทุนแล้ว ยังจะลดของเสีย เกิดประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า    
     การผลิตสินค้าต้องเป็น สินค้าสีเขียวหมายถึง สินค้าที่ผลิตออกมานั้นสามารถย่อยสลายง่ายและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การใช้ หลังใช้ หรือทิ้ง เช่น ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้ ผลิตภัณฑ์ซักล้างที่ไม่ก่อมลพิษ เสื้อผ้าไม่ฟอกย้อม น้ำมันไร้สารตะกั่ว ตู้เย็น-เครื่องปรับอากาศประหยัดไฟฟ้า
     ทางด้านราคา (Price) การตั้งราคาขึ้นอยู่กับว่ามูลค่าของสินค้าหรือบริการ ถ้ามีอรรถประโยชน์สูงจนทำให้สินค้ามีคุณค่าในสายตาของลูกค้าและต้องสูงเกินกว่าต้นทุนของผู้ซื้อ  อย่างไรก็ดี นักการตลาดต้องเข้าใจต้นทุนการผลิตกับต้นทุนสิ่งแวดล้อม หากมีการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพก็จะก่อให้เกิดของเสียและมลพิษ ซึ่งจะกลายเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตที่เกิดจากการใช้วัตถุดิบ อันจะทำให้สินค้ามีราคาแพงจนไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้      
     การจัดจำหน่าย (Place)
ต้องคำนึงถึงวิธีการเลือกการกระจายสินค้าที่จะมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด    ซึ่งการจัดจำหน่ายนั้นต้องใช้ยานพาหนะต่างๆ ในการเคลื่อนย้ายสินค้าไปถึงมือผู้บริโภค        
     การส่งเสริมการตลาด (Promotion) ที่ประกอบไปด้วยการโฆษณา (Advertising) การประชาสัมพันธ์ (Public relation) การส่งเสริมการขาย (Sales promotion) การขายโดยใช้พนักงานขาย (Personal selling) และการตลาดทางตรง (Direct marketing) โดยใช้ทุกวิธีร่วมกันในการที่จะเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปยังผู้บริโภค และผู้ประกอบการด้วยกันให้เกิดความใส่ใจอย่างจริงจัง กับสิ่งแวดล้อม เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจ ความรู้สึกและพฤติกรรมต่อสิ่งแวดล้อม

ลักษณะของการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมมีลักษณะดังนี้
     1. แสวงหากำไรอย่างยั่งยืน ไม่ใช่แสวงหากำไรสูงสุด (Sustainable profit not maximized profit)

     2. เป็นการแข่งขันกันแบบเกื้อกูลและเอื้ออาทรต่อกัน    ไม่ใช่แข่งเพื่อเอาชนะหรือทำลายคู่แข่งให้หมดสภาพ

     3. ทำเพื่อประโยชน์ของลูกค้าและสังคม ไม่ใช่เพื่อลูกค้าเพียงอย่างเดียว (Customer and Social Benefit not only Customer) เพราะนอกจากธุรกิจจะต้องเสียภาษีแล้ว ยังจะต้องจัดสรรงบประมาณจำนวนหนึ่งเพื่อช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมและสังคมทุกปี เช่น จัดตั้งมูลนิธิที่เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม

    4. ส่งเสริมให้ความรู้มิใช่เพื่อการขายเพียงอย่างเดียว หากลูกค้าไม่มีความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ทำให้เกิดปัญหาเปลี่ยนสินค้า หรือไม่ได้นำไปใช้ต่อ ก็เท่ากับเป็นการผลาญทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดอรรถประโยชน์สูงสุด


ตัวอย่างการดำเนินงานทางธุรกิจอย่างมีจริยธรรมที่สำคัญ 10 ประการ เช่น

          1. ไม่เบียดเบียนลูกค้า ได้แก่ ไม่ปลอมปนสินค้าหรือไม่ส่งสินค้าที่มาตรฐานต่ำกว่าที่ได้ตกลงกันไว้ ไม่กักตุนสินค้าเพื่อขึ้นราคา ไม่ค้ากำไรเกินควร เป็นต้น
          2. ไม่เบียดเบียนผู้จัดส่งวัตถุดิบ ผู้จัดส่งวัตถุดิบ มีชื่อเรียกอีกหลายอย่าง เช่น ซัพพลายเออร์ (supplier) เวนเดอร์ (vender) เป็นต้น การไม่เบียดเบียน ได้แก่ การไม่กดราคาซื้อให้ต่ำลงมากเกินไป การไม่ยืดระยะเวลาชำระหนี้ออกไปมากเกินควร การปิดบังข้อมูลบางอย่าง การไม่ตำหนิวัตถุดิบหรือการไม่สร้างหลักฐานเท็จเพื่อเรียกร้องให้ผู้จัดส่งวัตถุดิบชดใช้ค่าเสียหาย เป็นต้น 
          3. ไม่เบียดเบียนพนักงาน ได้แก่ การจ่ายค่าแรงให้อย่างเป็นธรรม ถูกต้องตามกฎหมาย ตรงต่อเวลา การใช้แรงงานอย่างไม่กดขี่ ทารุณ การจัดสวัสดิการและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม การจัดหาอุปกรณ์ในการทำงานให้ตามสมควรไม่ต้องให้พนักงานไปซื้อหามาเองโดยไม่จำเป็น การไม่เก็บเงินค่าประกันต่าง ๆ จากพนักงานโดยไม่จำเป็น การจ่ายค่าล่วงเวลาให้เมื่อมีการทำงานล่วงเวลาอย่างถูกต้อง เป็นต้น
          4. ไม่เบียดเบียนผู้ถือหุ้น ได้แก่การไม่สร้างหลักฐานเท็จหรือไม่สร้างข้อมูลให้ผู้ถือหุ้นหลงผิดในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน การจ่ายเงินปันผลให้ตามสมควร การไม่ปิดบังข้อมูลที่แท้จริง การไม่เอาส่วนเกินมูลค่าหุ้นไปฝากธนาคารไว้กินดอกเบี้ยเฉย ๆ โดยไม่นำไปลงทุนตามที่ได้สัญญาไว้ การไม่นำเงินลงทุนไปใช้ผิดประเภท การตั้งใจบริหารบริษัทให้เต็มความสามารถ การไม่ปั่นหุ้นให้มีราคาสูง เป็นต้น
          5. ไม่เบียดเบียนผู้ร่วมงาน ได้แก่ การไม่ปิดบังข้อมูลที่ผู้ร่วมงานหรือบริษัทร่วมทุนควรจะได้รับรู้ การบริหารงานอย่างซื่อสัตย์ตรงไปตรงมา การไม่ทุจริตคอรัปชั่น การไม่เอาเปรียบกินแรงผู้ร่วมงาน เป็นต้น
          6. ไม่เบียดเบียนผู้ให้กู้ยืม ได้แก่ การไม่นำเงินที่กู้ยืมไปใช้ผิดข้อตกลง การไม่ยืดระยะเวลาชำระหนี้โดยไม่มีเหตุอันควร การไม่สร้างหลักฐานเท็จเพื่อหลอกลวงผู้ให้กู้ยืม เป็นต้น
          7. ไม่เบียดเบียนคู่แข่ง ได้แก่ การไม่ปล่อยข่าวลือหรือไม่สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จทำให้คู่แข่งเสียหาย การไม่ปลอมสินค้าคู่แข่ง การไม่ติดสินบนเพื่อแย่งลูกค้าจากคู่แข่ง การปฏิบัติตามข้อตกลงหรือพันธะผูกพันอย่างเคร่งครัด การไม่นอกลู่นอกทางหรือปฏิบัตินอกกติกา เป็นต้น 
          8. ไม่เบียดเบียนราชการ ได้แก่ การไม่ติดสินบนข้าราชการเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย การจ่ายภาษีถูกต้องตรงความเป็นจริง ไม่มีการทำบัญชี 2-3 ชุด ไม่หลีกเลี่ยงภาษีโดยวิธีการอาศัยช่องว่างของกฎหมาย การไม่สร้างหลักฐานเท็จเพื่อหลอกลวงทางการ เป็นต้น
          9. ไม่เบียดเบียนสังคม ได้แก่ การไม่โฆษณาหลอกลวงหรือไม่โฆษณาเกินจริงหรือไม่โฆษณาให้หลงผิด การไม่ฉวยโอกาสขายของแพง การไม่ผลิตสินค้าหรือบริการที่ต่ำกว่ามาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ เป็นต้น
        10. การไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ ไม่ทำให้น้ำเสีย ไม่ทำให้อากาศเป็นพิษ การจัดให้มีระบบการจัดการกับของเสียหรือสิ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ เช่น จัดให้มีการจัดการกับกากอุตสาหกรรมที่เป็นพิษอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นต้น 

ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับจริยธรรมทางธุรกิจ   
          เมื่อเกิดความเสียหายในธุรกิจสิ่งที่สังคมแสวงหาคือความรับผิดชอบต่อสังคมและจริยธรรมในการประกอบธุรกิจ เรื่องจริยธรรมเป็นเรื่องของรูปแบบของการตีความว่า พฤติกรรมใดผิดและพฤติกรรมใดถูกสิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำ จริยธรรมเกี่ยวข้องกับมนุษย์ในทุกสถาบัน มักมีการพูดถึงว่าเราควรมีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ พฤติกรรมดังกล่าวอาทิ การป้องกันไม่ให้ข่าวสารรั่วไหลออกเพื่อผลประโยชน์ในการซื้อขายหลักทรัพย์แก่เพื่อนฝูงที่ใกล้ชิดหรือการไม่ใช้โฆษณาหลอกลวงแก่ผู้บริโภค หรือการไม่รวมกลุ่มธุรกิจเพียงเพื่อต้องการจะขึ้นราคาสินค้าเท่านั้น สิ่งเหล่านี้ควรจะเลิกไปเสีย เพราะเป็นพฤติกรรมที่ผิดจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ 

การพิจารณาสิ่งที่ควรทำและไม่ผิดจริยธรรมนั้นสามารถพิจารณาได้ใน 3 ประเด็นคือ
          1. เรื่องต้นทุนและผลประโยชน์ ผู้บริหารจะต้องเปรียบเทียบว่าสิ่งที่ตนตัดสินใจปฏิบัติลงไปนั้นจะเกิดต้นทุน (cost) กับผลประโยชน์รับ (benefit) อย่างไร โดยใช้หลักการผลประโยชน์ต้องมากกว่าต้นทุนที่ลงไป และผลประโยชน์ที่ว่านี้ มิใช่มองแต่ผลกำไรที่จะเข้ามาเท่านั้น แต่ต้องรวมถึงผลประโยชน์ที่จะตกอยู่กับกลุ่มคนที่เราเกี่ยวข้องด้วย เช่น ผู้บริโภคจะมีความเป็นอยู่ที่ดีหรือไม่ สุขภาพอนามัยและประโยชน์ที่ได้รับจากสินค้าหรือบริการดีหรือไม่ เหล่านี้หมายถึงผลตอบแทนที่ถูกจริยธรรมและเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาหากคำตอบเป็นไปในทางบวก คือ นอกจากผลตอบแทนที่เราจะได้แล้ว ผลประโยชน์ต้องตกอยู่กับคนทั่วไป และมีมากกว่าต้นทุนที่ได้ลงไป สิ่งเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ดีหรือเป็นจริยธรรมที่นักธุรกิจต้องคำนึงถึง 
          2. ต้องไม่ขัดกับสิทธิมนุษยชน การพิจารณาว่าสิ่งที่ทำเป็นพฤติกรรมที่มีความถูกต้องทางจริยธรรมหรือไม่ ต้องดูว่าสิ่งนั้นขัดกับสิทธิมนุษยชน (human right) หรือไม่ อาทิ การกระทำดังกล่าวไปจำกัดสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เช่น การแสดงออก สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร สิทธิในการเลือกตั้งหรือการดำเนินชีวิตอย่างอิสระ สิทธิในการแสดงความคิดเห็นที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย สิทธิส่วนบุคคล ตลอดจนรวมถึงเกียรติยศและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ในขณะเดียวกัน หากยังคลุมเครือหรือไม่อาจตัดสินได้อย่างชัดเจน นั่นหมายถึงว่า การกระทำของเรายังคาบเกี่ยวกับปัญหาการขาดจริยธรรมเช่นเดียวกัน 
          3. ความเสมอภาคและยุติธรรม สิ่งที่กระทำจะต้องมีความยุติธรรมและมีความถูกต้อง มีการกระทำอย่างเสมอภาค โดยเฉพาะในเรื่องจัดสรรผลประโยชน์ต่าง ๆ ไปยังบุคคลหรือกลุ่มชน การกระทำต้องไม่ก่อให้ฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใด ได้รับประโยชน์มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง และไม่ทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมกับอีกฝ่ายหนึ่งอาทิ ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง หรือเลือกปฏิบัติกับกลุ่มคนในองค์การหรือพนักงานคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษหรือหากมีใครทำผิดกฎเกณฑ์แล้วไม่ลงโทษหากเรามีการกระทำเช่นนี้ ถือว่าเป็นผู้บริหารที่ไม่มีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ 
ความหมายของจริยธรรม
          "จริยธรรม" มาจากคำ 2 คำคือ จริย + ธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติกิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ
          อลิสโตเติล กล่าวว่า พฤติกรรมที่เหมาะสม คือควรปฏิบัติตามกฎการเดินสายกลาง golden mean of moderation คือการไม่ทำอะไร สุดโต่ง เช่น ร่ำรวยเกินไป ยากจนเกินไป
ความหมายของจริยธรรมธุรกิจ
          จรรยาบรรณ หมายถึง มาตรฐานคุณค่าแห่งความดีงามของการกระทำหนึ่ง ๆ และหรือพฤติกรรมโดยรวม ธุรกิจ หมายถึง บุคคล นิติบุคคลหรือองค์กรใด ๆ ที่ดำเนินการผลิตสินค้าบริการเพื่อผลตอบแทนในการลงทุน (กำไร) จรรยาบรรณทางธุรกิจ หมายถึง มาตรฐานการผลิตสินค้าและการให้บริการเพื่อผลตอบแทนตามคุณค่าของการลงทุนโดยเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายเจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ผู้ร่วมงาน ผู้บริโภค ผู้รับบริการรัฐบาล สังคม ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจร่วมกัน
องค์ประกอบสำคัญของจริยธรรม
          1. ความเฉลียวฉลาด (wisdom)
          2. ความกล้าหาญ (courage)
          3. ความรู้จักเพียงพอ (temperance)
          4. ความยุติธรรม (justice)
          5. ความมีสติ (conscience)
ประโยชน์ของจริยธรรมธุรกิจ
          1. จริยธรรมก่อให้เกิดความมุ่งมั่นของพนักงานในองค์กร
          2. จริยธรรมก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์กร
          3. จริยธรรมก่อให้เกิดความมั่นใจของนักลงทุน
          4. จริยธรรมก่อให้เกิดความสงบสุขของสังคม
          5. จริยธรรมก่อให้เกิดความเจริญของประเทศชาติ
ความจำเป็นที่ต้องมีจริยธรรมธุรกิจ
          1. เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการแข่งขัน
          2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
          3. เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค
          4. เพื่อรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อม
ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับกฎหมาย
          1. การบังคับใช้
          2. เหตุแห่งการเกิด
          3. บทลงโทษ
          4. การยกย่องสรรเสริญ
          5. เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสิน
โดยสามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้         1.การบังคับใช้
               - กฎหมายเป็นสิ่งที่ผู้นำตั้งขึ้นตามความเหมาะสม จะปฎิเสธว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้
               - จริยธรรมขึ้นอยู่กับบุคคล อยู่ที่จิตใต้สำนึก ไม่บังคับใช้อยู่ที่ความสมัครใจ
          2.เหตุแห่งการเกิด
               - กฎหมายเกิดอย่างเป็นกระบวนการเป็นทางการสามารถเปลี่ยนตามสภาวะสังคม
               - จริยธรรมเกิดจากพื้นฐานทางสังคมที่แท้จริงโดยอาศัยระยะเวลาในการยอมรับ
          3.บทลงโทษ
               - กฎหมายมีการกำหนดบทลงโทษไว้เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน
               - จริยธรรมมีการกำหนดบทลงโทษแตกต่างกันไม่มีกำหนด
          4.การยกย่องสรรเสริญ
               - บุคคลที่สามารถปฏิบัติอยู่ภายใต้กฎหมายได้ถือเป็นพลเมืองดี
               - จริยธรรมต้องสั่งสมและต้องสร้างจากภายในออกสู่ภายนอก
          5.เกณฑ์การใช้ในการตัดสิน
               - หลักกฎหมายมีระบุชัดเจน เกณฑ์ที่ใช้การตัดสินมีผิด,ไม่ผิด
               - จริยธรรมมีความยืดหยุ่นมาก เกณฑ์ที่ใช้การตัดสินมีควรหรือไม่ควร

สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือ สิ่งที่เป็นจริยธรรม (ethics) นั้นจะมีความแตกต่างจาก กฎหมาย (law) อยู่หลายประการ คือ
               - สิ่งที่เป็นจริยธรรม ก่อเกิดจากภายในตัวของผู้กระทำเอง เป็นสิ่งที่ควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ในระดับสูง การลงโทษก็เป็นการควบคุม
               - ส่วนกฎหมายนั้น เป็นเรื่องของการบังคับให้ปฏิบัติ มิได้ก่อเกิดจากรากฐานภายในจิตใจ และกฎหมายอาจเป็นดั่งบรรทัดฐาน (norms) แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ทั้งจริยธรรมและกฎหมาย ก็เป็นสิ่งที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในการทำให้สังคมนั้นดีจากสังคม (social sanction)
จริยธรรมของผู้ประกอบธุรกิจ
          มูลนิธิเพื่อสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย (IMET) ได้เสนอหลักจริยธรรมของผู้ประกอบธุรกิจหรือนักธุรกิจไว้เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติได้แก่
จริยธรรมของนักธุรกิจต่อลูกค้า          - ขายสินค้าและบริการในราคาที่ยุติธรรม
          - สินค้าและบริการต้องมีคุณภาพ
          - ดูแลให้บริการแก่ลูกค้าทุกคนเท่าเทียมกัน
          - ละเว้นการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ราคาสูงขึ้นโดยไม่มีเหตุผล
          - ปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างมีน้ำใจ
จริยธรรมของนักธุรกิจต่อคู่แข่งขัน          - ละเว้นจากการกลั่นแกล้ง ให้ร้ายป้ายสี ข่มขู่หรือกีดกัน ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม
          - ควรให้ความร่วมมือในการแข่งขัน เช่น การให้ข้อมูลความรู้ในด้านต่าง ๆ
จริยธรรมของนักธุรกิจต่อหน่วยงานราชการ          - การทำธุรกิจควรตรงไปตรงมา
          - ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายในการทำธุรกิจ
          - ละเว้นจากการติดสินบนเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการ
          - ไม่สนับสนุนข้าราชการทำทุจริต
          - ละเว้นการให้ของขวัญหรือของกำนัลแก่ข้าราชการ
          - มีทัศนคติที่ดีและมีความเชื่อถือต่อหน่วยงานราชการ
          - ให้ความร่วมมือเป็นพลเมืองที่ดี
จริยธรรมของนักธุรกิจต่อพนักงาน          - ให้ค่าจ้างเหมาะสม
          - เอาใจใส่ต่อสวัสดิการและความปลอดภัยในการทำงาน
          - พัฒนาให้ความรู้เพิ่มความชำนาญ
          - ให้ความเป็นธรรม และโอกาสที่เท่าเทียมกัน
          - ศึกษานิสัยใจคอและความถนัดของพนักงาน
          - เคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน
          - ให้ความเชื่อถือและไว้เนื้อเชื่อใจ
          - ให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษา
          - สนับสนุนให้พนักงานเป็นคนดี
จริยธรรมของนักธุรกิจต่อสังคม          - ละเว้นการประกอบธุรกิจที่ทำให้สังคมเสื่อมลง
          - ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          - เคารพสิทธิทางปัญญาของบุคคลอื่น
          - ให้ความร่วมมือกับชุมชนเพื่อสร้างสรรค์สังคม
          - ให้ความสนใจเรื่องการสร้างงานแก่คนในสังคม
จริยธรรมของนักธุรกิจต่อนักธุรกิจ          - มีความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติงาน
          - รักษาและรับผิดชอบทรัพย์สินของนายจ้างให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่
          - ระมัดระวังเรื่องการวางตัวในสังคม
          - หลีกเลี่ยงการขัดผลประโยชน์ของนายจ้าง
          - ละเว้นการทำงานให้ผู้อื่น
คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจ          - มีความรับผิดชอบในการทำงานไม่ว่าจะได้กำไรหรือขาดทุน
          - กล้าเสี่ยงพอสมควร
          - มีความมั่นใจในตนเอง
          - มั่นใจในการประเมินผลงานกิจการของตนเอง
          - กระตือรือร้นในการทำงาน
          - มองการณ์ไกล
          - มีความสามารถในการคัดคนเข้าทำงาน
          - คำนึงถึงความสำเร็จของงานมากกว่าคน
          - มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ
          - มนุษยสัมพันธ์และบุคลิกภาพดี
          - มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร
          - มีความชำนาญในงานที่ทำ
          - มีความสามารถในการจัดการและการวางแผน
          - มีจริยธรรมหรือจรรยาบรรณต่อวิชาชีพของตนเอง
          จริยธรรมทางธุรกิจคือการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม พยายามสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ดำเนินงานอยู่ไม่ว่าจะเป็นบุคคลใด เพื่อให้ธุรกิจมีความก้าวหน้าและเติบโตไปได้อย่างมั่นคง

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

aftc สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า

 
ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาธุรกิจการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในประเทศไทยของสำนักงานคณะกรรมการ ก.ส.ล. สำหรับปีงบประมาณ 2551 – 2553
  1. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ AFET
  2. สร้างความเข้มแข็งและเพิ่มจำนวนของผู้ประกอบธุรกิจการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า
  3. เพิ่มบทบาทของ AFET ในการบริหารความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตรให้กับภาครัฐ
  4. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า แก่ผู้ที่อยู่ในภาคเกษตรและผู้สนใจทั่วไป
  5. เพิ่มศักยภาพของสำนักงาน ก.ส.ล. ในการเป็นองค์กรกำกับและพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ




ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ AFET ให้ความสำคัญกับ
ก.  สนับสนุน AFET ในเรื่องดังต่อไปนี้
          ก.1    การพัฒนา Contract Specifications ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ลงทุน รวมถึงมีความเป็นธรรมกับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย 
          ก.2    การปรับต้นทุนการซื้อขายล่วงหน้า (Transaction Cost) ในระดับที่เหมาะสมและแข่งขันได้ เพื่อจูงใจผู้ลงทุนเข้ามาซื้อขายล่วงหน้ามากขึ้น
          ก.3    การพิจารณาใช้ผู้ดูแลสภาพคล่องใน AFET (Market Maker)
ข.  เสริมสร้างความเชื่อมั่นใน AFET
          การเสริมสร้างความเชื่อมั่นใน AFET โดยการแก้ไขกฎหมายเพื่อเพิ่มความคุ้มครองผู้ลงทุน เช่น ในกรณีที่นายหน้าซื้อขายล่วงหน้าล้มละลาย  ทบทวนฐานความผิดในกรณีการสร้างราคา (Manipulation) และกำหนดบทลงโทษโบรกเกอร์เถื่อน เป็นต้น
ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างความเข้มแข็งและเพิ่มจำนวนของผู้ประกอบธุรกิจการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ให้ความสำคัญกับ
ก.  ประสานกับ AFET ในเรื่องต่อไปนี้
          ก.1    การพัฒนาศักยภาพของนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าในการให้บริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม โดยการจัดอบรมอย่างต่อเนื่องและเข้มข้นขึ้น รวมถึง มีการเข้าตรวจกิจการเป็นประจำเพื่อป้องกันการเอาเปรียบลูกค้า
          ก.2    การเพิ่มช่องทางและโอกาสในการประกอบธุรกิจการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า
          ก.3    การเพิ่มจำนวนผู้ประกอบธุรกิจการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าที่มีศักยภาพ โดยกำหนดมาตรการที่จูงใจสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม และเน้นการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจที่จะเข้ามาประกอบธุรกิจฯ
ข.  การกำกับดูแลอย่างเหมาะสมและเข้าใจธุรกิจ
          การกำกับดูแลอย่างเหมาะสมและเข้าใจธุรกิจ โดยการปรับปรุงและพัฒนาหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ให้มีความยืดหยุ่นและผ่อนคลายในการประกอบธุรกิจฯ โดยยังคงคำนึงถึง หลักการกำกับดูแลและบริหารความเสี่ยงของธุรกิจการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในภาพรวม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เพิ่มบทบาทของ AFET ในการบริหารความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตรให้กับภาครัฐ ให้ความสำคัญกับ
          ก.   การส่งเสริมให้ภาครัฐนำสินค้าเกษตรในสต็อกออกจำหน่าย โดยวิธีประมูลแบบ Basis ซึ่งใช้กลไกของ AFET (การประมูลแบบใหม่) อย่างต่อเนื่อง
          ข.   การส่งเสริมให้ภาครัฐหันมาใช้ประโยชน์จากกลไก AFET ด้วยโครงการนำร่องใช้กลไกของ AFET เพื่อประกันราคาข้าวเปลือกขั้นต่ำ (ปรข.) และพัฒนาต่อเนื่องเป็นโครงการถาวรทดแทนโครงการรับจำนำในระยะยาวต่อไป
ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าแก่ผู้ที่อยู่ในภาคเกษตรและผู้สนใจทั่วไป ให้ความสำคัญกับ
          ก.   การพัฒนาสื่อให้ความรู้ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเนื้อหาและรูปแบบที่เหมาะสม ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย รวมถึงเผยแพร่สู่ประชาชนให้รับทราบประโยชน์ของตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าในวงกว้าง
          ข.   การพัฒนาศูนย์พัฒนาความรู้การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าอย่างต่อเนื่อง
          ค.   การสร้างเครือข่ายกระจายความรู้สู่สาธารณชนอย่างกว้างขวาง
          ง.   การวางรากฐานความรู้เกี่ยวกับการซื้อขายล่วงหน้าสู่เยาวชน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 เพิ่มศักยภาพของสำนักงาน ก.ส.ล. ในการเป็นองค์กรกำกับและพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ ให้ความสำคัญกับ
          ก.   การพัฒนาความรู้และทักษะของพนักงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของสำนักงาน ก.ส.ล.
          ข.   การสร้างพันธมิตรกับหน่วยงานกำกับดูแลต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า
          ค.   การพัฒนาระบบการบริหารงานภายในให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

พัฒนาองค์กร

  ประวัติสมาคม
สมาคมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักทรัพย์ได้มีการก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2516 โดยใช้ชื่อว่า "สมาคมไทยเงินทุนและจัดจำหน่ายหลักทรัพย์" ต่อมาได้มีการแก้ไขข้อบังคับและเปลี่ยนชื่อสมาคมเป็น "สมาคมไทยเงินทุนและหลักทรัพย์" ในปี 2519 หลังจากนั้นในปี 2524 สมาชิกบางส่วนได้ขอลาออกเพื่อก่อตั้งสมาคมการค้าที่มีรูปแบบเฉพาะธุรกิจหลักทรัพย์ โดยใช้ชื่อว่า "สมาคมสมาชิกตลาดหลักทรัพย์" ในปี 2535 เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เพื่อการกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนของประเทศ สมาคมสมาชิกตลาดหลักทรัพย์จึงได้ยื่นขออนุญาตและจดทะเบียนเป็นสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์สมาคมแรกในประเทศไทยโดยใช้ชื่อว่า "สมาคมบริษัทหลักทรัพย์" ซึ่งได้รับการจดทะเบียนตามทะเบียนเลขที่ 1/2535 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาคมเป็นศูนย์รวมของบริษัทหลักทรัพย์ทุกประเภท เพื่อส่งเสริมพัฒนาตลาดทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ เพื่อคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของวงการธุรกิจหลักทรัพย์ ตลอดจนเพื่อการพัฒนามาตรฐานในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งเพื่อร่วมมือกับหน่วยงานทางการในการออกกฎระเบียบเกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์ เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของตลาดทุนไทย ต่อมาในปี 2554 ได้มีการแก้ไขข้อบังคับและเปลี่ยนชื่อสมาคมเป็น “สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย” (Association of Thai Securities Companies)
สมาคมได้เข้าไปมีบทบาทในการก่อตั้งองค์กรต่างๆ เพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทสมาชิกโดยต่อเนื่อง ในปี 2537 สมาคมได้ก่อตั้ง สถาบันฝึกอบรม (ASCO Training Institute) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้วยการเตรียมความพร้อมเพื่อดำเนินงานในธุรกิจหลักทรัพย์ และเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านหลักทรัพย์ต่อสาธารณชนโดยได้มุ่งเน้นในการจัดฝึกอบรมและทดสอบเจ้าหน้าที่การตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนั้น ยังได้จัดตั้ง ชมรมผู้ค้าตราสารหนี้ (Bond Dealers Club) ขึ้นเพื่อเป็นองค์กรกลางในการสร้างระบบมาตรฐานของการประกอบธุรกิจการค้าตราสารหนี้ ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาตลาดเงินของประเทศโดยรวมต่อไปในอนาคต ในปี 2538 เพื่อเป็นการขยายตลาดทุนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น สมาคมได้จัดตั้ง ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์กรุงเทพ (Bangkok Stock Dealing Center) ขึ้นเพื่อประโยชน์ที่จะช่วยให้บริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางสามารถระดมทุนเพื่อนำมาใช้พัฒนากิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น (อย่างไรก็ตาม ด้วยปัจจัยหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยทางด้านภาษี capital gain ทำให้ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์กรุงเทพต้องปิดการดำเนินงานเมื่อปี 2542) และต่อมาในปี 2539 ก็ได้มีการจัดตั้ง บริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด (TSFC Securities Limited) ขึ้นเพื่อช่วยเสริมสร้างสภาพคล่องของการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในประเทศไทย
นอกจากนี้ สมาคมยังได้ขยายการดำเนินงานให้ครอบคลุมถึงระดับการปฏิบัติงานในสายงานด้านต่างๆของบริษัทสมาชิกโดยได้จัดตั้ง ชมรมวาณิชธนกิจ (Investment Banking Club) ขึ้นในเดือนธันวาคม 2539 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจวาณิชธนกิจโดยรวมทั้งด้านหลักการและด้านปฏิบัติ และเพื่อการศึกษาแสวงหาแนวทางของการพัฒนาธุรกิจในตลาดแรก (Primary market) ในปี 2540 ได้จัดตั้ง ชมรมผู้ดูแลการปฏิบัติงานด้านหลักทรัพย์ (Compliance Club) เพื่อให้การกำกับการดูแลการปฏิบัติงานของธุรกิจหลักทรัพย์พัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพไปสู่มาตรฐานสากล ในปี 2542 สมาคมได้ก่อตั้ง ชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Club) ขึ้นเพื่อรองรับการพัฒนาของธุรกิจหลักทรัพย์ซึ่งกำลังก้าวไปสู่แนวทางการประกอบธุรกิจในเชิง E-Commerce เพื่อร่วมสร้างความเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพให้แก่ตลาดทุนและระบบเศรษฐกิจไทยในระยะยาวต่อไป
ในปี 2548 สมาคมได้จัดตั้ง ชมรมปฏิบัติการหลักทรัพย์ (Back Office Operation Club) ขึ้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานด้านปฏิบัติการหลักทรัพย์ เพื่อเผยแพร่การศึกษา วิจัย กิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับงานปฏิบัติการหลักทรัพย์ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ประสบการณ์ และวิธีการเกี่ยวกับงานปฏิบัติการหลักทรัพย์ ต่อมาในเดือนธันวาคม 2548 ได้จัดตั้ง ชมรมผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures Industry Club) ขึ้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทั้งด้านหลักการและด้านปฏิบัติ ประสานความร่วมมือระหว่างสมาชิกในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งการประนอมข้อพิพาทระหว่างสมาชิก หรือกับบุคคลภายนอกอันเกี่ยวเนื่องกับการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตลอดจนส่งเสริมการศึกษา วิจัย และการเผยแพร่ข่าวสารทางวิชาการและข่าวสารเกี่ยวกับธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และในปี 2554 ได้จัดตั้ง ชมรมผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์สถาบัน (Institution Brokers Club) ขึ้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์สถาบันและธุรกิจหลักทรัพย์โดยรวม ส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์สถาบันทั้งด้านหลักการและด้านปฏิบัติ เป็นตัวแทนของสมาชิกเพื่อให้ความร่วมมือและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอันที่จะพัฒนาธุรกิจหลักทรัพย์สถาบัน และประสานความร่วมมือระหว่างสมาชิกในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์สถาบัน รวมทั้งการประนอมข้อพิพาทระหว่างสมาชิกหรือกับบุคคลภายนอกอันเกี่ยวเนื่องกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์สถาบัน
ในปี 2547 สมาคมได้ร่วมมือกับองค์กรที่เกี่ยวข้องในตลาดทุนและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดตั้ง “สภาธุรกิจตลาดทุนไทย” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในตลาดทุนไทยมีการสร้างมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีระบบการบริหารจัดการที่โปร่งใส ยุติธรรม ตลอดจนประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาตลาดทุนไทยให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพ

ความขัดแย้ง

สังเวียนเทคโนโลยีดุเดือด "เฟซบุ๊ก"ฟ้องกลับ"ยาฮู"ฐานละเมิดสิทธิบัตร

วันที่ 04 เมษายน พ.ศ. 2555 เวลา 18:12:33 น.



เฟซบุ๊ก เริ่มฟ้องร้องดำเนินคดีกับยาฮู ข้อหาละเมิดสิทธิบัตร เพื่อตอบโต้หลังยาฮู ยื่นฟ้องเฟซบุ๊ก ในข้อหาเดียวกันก่อนหน้านี้

ข้อขัดแย้งระหว่างสองบริษัทยักาใหญ่ด้านเทคโนโลยีเริ่มเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น เมื่อล่าสุด เฟซบุ๊ก เว็บไซต์สังคมออนไลน์ชั้นแนวหน้า ได้ยื่นฟ้องร้องดำเนินคดีด้านการละเมิดสิทธิบัตรกับยาฮู คู่แข่งบนโลกไซเบอร์ ต่อศาลในเมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ของสหรัฐฯ หลังจากเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ยาฮู ได้เปิดฉากยื่นฟ้องเฟซบุ๊กก่อน ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรทั้งหมด 10 รายการ ครอบคลุมเรื่องธุรกิจโฆษณาออนไลน์, โปรแกรมการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว, และโปรแกรมเครือข่ายสังคมออนไลน์

เฟซบุ๊ก ระบุในการฟ้องกลับครั้งนี้ว่า ข้อกล่าวหาของยาฮู ไม่เป็นความจริง พร้อมทั้งกล่าวหายาฮู กลับไปว่า ยาฮู คือฝ่ายละเมิดสิทธิบัตรของเฟซบุ๊ก นับสิบรายการ อาทิเช่น โปรแกรมการแท็กรูปภาพ, ธุรกิจโฆษณา, และโปรแกรมการแนะนำต่างๆบนโลกออนไลน์

เมื่อเร็วๆนี้ เฟซบุ๊กเพิ่งได้รับสิทธิในการครอบครองสิทธิบัตรจำนวน 750 ฉบับ ครอบคลุมเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับซอฟท์แวร์และระบบเครือข่าย  ขณะที่เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา เฟซบุ๊กครอบครองสิทธิบัตรเพียง 56 ฉบับเท่านั้นในสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นจำนวนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับยาฮู ที่ครอบครองมากกว่า 1,000 ฉบับ

ความขัดแย้งดังกล่าว เกิดขึ้นในขณะที่เฟซบุ๊ก กำลังเตรียมเปิดขายหุ้นไอพีโอ ของบริษัทในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งหากเป็นไปตามคาด เฟซบุ๊กอาจระดมทุนจากการขายหุ้นครั้งนี้ได้ถึง 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะทำให้มูลค่าของบริษัท เพิ่มขึ้นเป็น 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ยาฮู มีมูลค่าตลาด ในปัจจุบันอยู่ที่ 18,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น


เฟซบุ๊ก เริ่มฟ้องร้องดำเนินคดีกับยาฮู ข้อหาละเมิดสิทธิบัตร เพื่อตอบโต้หลังยาฮู ยื่นฟ้องเฟซบุ๊ก ในข้อหาเดียวกันก่อนหน้านี้

ข้อขัดแย้งระหว่างสองบริษัทยักาใหญ่ด้านเทคโนโลยีเริ่มเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น เมื่อล่าสุด เฟซบุ๊ก เว็บไซต์สังคมออนไลน์ชั้นแนวหน้า ได้ยื่นฟ้องร้องดำเนินคดีด้านการละเมิดสิทธิบัตรกับยาฮู คู่แข่งบนโลกไซเบอร์ ต่อศาลในเมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ของสหรัฐฯ หลังจากเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ยาฮู ได้เปิดฉากยื่นฟ้องเฟซบุ๊กก่อน ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรทั้งหมด 10 รายการ ครอบคลุมเรื่องธุรกิจโฆษณาออนไลน์, โปรแกรมการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว, และโปรแกรมเครือข่ายสังคมออนไลน์

เฟซบุ๊ก ระบุในการฟ้องกลับครั้งนี้ว่า ข้อกล่าวหาของยาฮู ไม่เป็นความจริง พร้อมทั้งกล่าวหายาฮู กลับไปว่า ยาฮู คือฝ่ายละเมิดสิทธิบัตรของเฟซบุ๊ก นับสิบรายการ อาทิเช่น โปรแกรมการแท็กรูปภาพ, ธุรกิจโฆษณา, และโปรแกรมการแนะนำต่างๆบนโลกออนไลน์

เมื่อเร็วๆนี้ เฟซบุ๊กเพิ่งได้รับสิทธิในการครอบครองสิทธิบัตรจำนวน 750 ฉบับ ครอบคลุมเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับซอฟท์แวร์และระบบเครือข่าย  ขณะที่เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา เฟซบุ๊กครอบครองสิทธิบัตรเพียง 56 ฉบับเท่านั้นในสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นจำนวนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับยาฮู ที่ครอบครองมากกว่า 1,000 ฉบับ

ความขัดแย้งดังกล่าว เกิดขึ้นในขณะที่เฟซบุ๊ก กำลังเตรียมเปิดขายหุ้นไอพีโอ ของบริษัทในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งหากเป็นไปตามคาด เฟซบุ๊กอาจระดมทุนจากการขายหุ้นครั้งนี้ได้ถึง 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะทำให้มูลค่าของบริษัท เพิ่มขึ้นเป็น 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ยาฮู มีมูลค่าตลาด ในปัจจุบันอยู่ที่ 18,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น


วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ERP

ERP คืออะไรERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning
ERP คือ การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร คือระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน เช่น หากเป็น ERP ของบริษัทจะหมายรวมตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชี และการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรของบริษัทนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยลดเวลาและขั้นตอน (Algorithm ) การทำงานได้อีกด้วย

ปัจจุบัน ERP มีการพัฒนาไปสู่รูปแบบโปรแกรมสำเร็จรูป ERP ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์มาตรฐาน สามารถได้รับการติดตั้งและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย ERP sotfware มีหน้าที่รวบรวมส่วนประกอบทางธุรกิจต่างๆ เช่น งานวางแผน (Planning) งานผลิต (Production) งานขาย (Sale) งานทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) และงานบัญชีการเงิน (Accounting/Finance) แล้วเชื่อมโยงส่วนงานต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้มีการใช้ข้อมูลร่วมกันจากฐานข้อมูลเดียวกัน มีการใช้กระบวนการที่เป็นมาตรฐานร่วมกัน (Common Processes) ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการทำงานกระบวนการทางธุรกิจขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  ข้อดีของการรวมข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อให้ข้อมูลเดียวกันสามารถใช้ร่วมกันทั้งองค์กรได้

ERP sotfware คือ ซอฟต์แวร์ที่มีการรวบรวม หรือผนวกฟังก์ชันงานทั้งหมดในองค์กร หรือมีการเชื่อมโยงในส่วนของโมดูลทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยมีการทำงานในลักษณะแบบเรียลไทม์ และ ERP sotfware จะได้รับการออกแบบมาบนพื้นฐานของวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมนั้นๆ (Best Practice) ก็คือมีการกำหนดในส่วนของกระบวนการทางธุรกิจ ที่มีการทดสอบ และสำรวจมาแล้วว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมนั้นๆ ไว้ในตัวของ ERP sotfware โดยที่ ERP sotfware จะสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับลักษณะการดำเนินงานขององค์กรนั้น

แผนแม่บทกับงานไอที

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการดำเนินการจัดการในหน่วยงานกลายเป็นสิ่ง จำเป็นสำหรับการพัฒนาทั้งด้านคุณภาพและปริมาณเพื่อการสนองต่อเป้าหมายของหน่วยงานนั้น ๆ ดังนั้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในหน่วยงานขนาดเล็กจนถึงองค์กรระดับประเทศจึงไม่ใช่เรื่องที่แปลกการที่หน่วยงานต่าง ๆ จะมีระบบสารสนเทศไม่ใช่เรื่องยาก (หากมีงบประมาณ) แต่การบริหารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศมีความหลากหลายและเปลี่ยนแปลงรวดเร็วตามกระแสของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ดังนั้นการวางแผนการดำเนินงานด้านระบบสารสนเทศจึงต้องคำนึถึงเรื่องราวต่าง ๆจำนวน มากและจำเป็นต้องมีแผนการหรือนโยบายดำเนินการต่าง ๆ จำนวนมกา ในบทความนี้เป็นเพียงการแนะนำให้รู้จักกับแผนแม่บทสำหรับเทคโนโลยี สารสนเทศอย่างง่าย ๆ เท่านั้น แผนแม่บทกับงานไอที
คำว่า "แผนแม่บท "มีความหมายในตัวคือ เป็นแผนการหรือนโยบายหลักที่ใช้เป็นต้นแบบซึ่งแผนการย่อยต่าง ๆ ที่มี อยู่จะต้องมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับแผนแม่บทดังจะเห็นแผนแม่บทในเรื่องต่าง ๆ มากมาย
ในปัจจุบันได้มีการกำหนดแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อที่จะได้เป็นกรอบและนโยบายในการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ เช่น จัดหาและนำเทคโนโลยีฮาร์แวร์ ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์รอบข้าง และรบบเครือข่ายโทรคมนาคมมาใช้ให้เหมาะสมและลดความซ้ำซ้อน ทำไมต้องมีแผนแม่บท
การจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้มีภาพรวมของระบบสารสนเทศที่สนับสนุนและสอดคล้องกับแผนกและการดำเนินงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และเป็นกรอบหรือแนวทางในการดำเนินการ รวมถึงการพิจารณาต้นทุน การดำเนินการของหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย เนื่องจากแผนแม่บทไอทีมีการวางแผนการใช้ทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งด้านอุปกรณ์ งบประมาณและบุคลากร แผนแม่บทไอทีจะช่วยให้มีการใช้สารสนเทศให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการต่าง ๆ ภายในหน่วยงานอย่างเหมาะสมและลดความซ้ำซ้อน ซึ่งเป็นส่วนก่อให้เกิดความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการขาดแผนการดำเนินงานที่ดี หน่วยงานที่ทำแผนแม่บทไอทีมักมีวัตถุประสงค์ใกล้เคียงกัน ดังนี้
  1. เพื่อแก้ไขปัญหา อุปสรรค์ ที่เกิดขึ้นในระบบที่ใช้งาน หรือปรับปรุงระบบงานเดิมที่ใช้งานอยู่ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
  2. เพื่อให้การออกแบบสำหรับระบบใหม่สอดคล้องกับความต้องการอย่างแท้จริง โดยให้สามารถนำระบสารสนเทศไปช่วยในการปฏิบัติงานได้จริงในส่วนนี้จะต้องคำนึงถึงความเกี่ยวข้องในเรื่องของการกำหนดสถาปัตยกรรมในระบบต่าง ๆ เช่น
  3. การออกแบบสถาปัตยกรรมระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อระบุความต้องการทรัพยากรต่าง ๆ
  4. การออกแบบโครงสร้างระบบงานและสารสนเทศ
  5. การออกแบบโครงสร้างระบบงานเครือข่าย ทั้งภายในหรือเครือข่ายภายนอก
  6. การจัดลำดับความสำคัญของระบบงานย่อยต่าง ๆ
  7. การฝึกอบรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาบุคลากร
  8. การประเมินผลกระทบและความสำเร็จของระบบงานเชิงคุณภาพ
  9. เพื่อวิเคราะห์และประเมินค่าใช้จ่ายระบบงานประกอบด้วยการวางแผนสำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ ทั้งปรับเปลี่ยนระบบเดิมและสร้างระบบใหม่หากจำเป็น การเชื่อมโยงสื่อสารข้อมูล ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ การพัฒนาระบบงาน การผึกอบรม ค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษาควบคุมดูแล การดำเนินงานของโครงการ ค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมข้อมูล และวิเคราะห์ช่วงเวลาการทำงานว่าตรงตามกำหนดหรือไม่เพื่อที่สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้









  • เพื่อช่วยในการตัดสินใจว่าจะนำระบบสารสนเทศมาใช้กับหน่วยงานหรือไม่ หรือนำมาใช้ในรูปแบบใด และลำดับขั้นตอนในการดำเนินการจะเป็นอย่างไร

  • ขั้นตอนการสร้างแผนแม่บท หน่วยงานที่ต้องการสร้างแผนแม่บททางสารสนเทศสำหรับหน่วยงานตนเองสามารถทำโดยการว่าจ้างบุคคลหรือ บริษัทด้านไอทีเป็นผู้วางแผนแม่บทให้(IT Outsourcing)หรือดำเนินการด้วยบุคลากรภายในหน่วยงานซึ่งทั้งสองวิธีก็มีทั้งข้อดีและ ข้อเสียทีแตกต่างกัน สำหรับแนวทางหลักในการดำเนิดการสร้งแผนแม่บทจะประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
    1. การศึกษาระบบงานเดิมและความต้องการของหน่วยงานตลอดจนนโยบายของหน่วย โดยศึกษาจากระบบและบุคลากรในหน่วยงาน
    2. การวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ในระบบเดิมที่ใช้โดยการวิเคราะห์สภาพการจัดระบบงานสารสนเทศของหน่วยงานในเรื่องของความ พร้อมด้านอุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์พ่วงต่อ และระบบเครือข่าย การสื่อสารโทรคมนาคม รวมถึงบุคลากร โดยพิจารณาทั้ง ปริมาณ คุณภาพ และข้อจำกัดต่า ๆ โดยการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา

  • ออกแบบและเลือกวิธีการดำเนินการระบบใหม่เพื่อแก้ปัญหาที่มีอยู่ในระบบเดิม
  • แผนการดำเนินงานตามวิธีที่เลือกในเรื่องของการลงทุนและช่วงเวลาที่ใช้และทบทวนใหม่ (เนื่องจากแผนแม่บทไอทีจะมีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องต่าง ๆ มากมาย ทำให้ต้องมีช่วงเวลาในการปรับแผนบางส่วน) เพื่อให้การใช้ระบบสารสนเทศมีความเหมาะสมและตรงตามความต้องการมากที่สุด ตลอดจนสามารถรองรับงาน และมาตรฐานในอนาคตได้ เช่น การกำหนดช่วงเวลาในการเตรียมการจัดหา และกำหนดคุณสมบัติของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์พ่วงต่อ ซอฟต์แวร์ การจัดการข้อมูล และระบบเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคม (เนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วทำให้ช่วงเวลาในการจัดการที่ต่างกันนั้นจะได้อุปกรณ์มีคุณสมบัติแตกต่าง กัน แต่ต้องใช้งานร่วมกันได้) และกำหนดช่วงเวลาที่จะพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงระบบซึ่งอาจใช้เครื่องมือย่างเช่น Milestones , Critical Path Method(CPM) หรือ Gantt Chart ช่วยในการดำเนินการได้


  • แผนการพัฒนาบุคลากรเพื่อการใช้งานระบบให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตั้งแต่ให้ผู้บริหารระดับสูงเห็นความสำคัญ และบุคลากรระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถใช้งานไอที เช่น การจัดฝึกอบรม
  • กำหนดกฎต่าง ๆ สำหรับระบบสารสนเทศ เพื่อให้มีความเสถียร และสามารถใช้งานได้อย่างปกติ เช่น กำหนดกฎเกี่ยวกับเรื่องระบบความปลอดภัยข้อมูลกฎเกี่ยวกับการใช้งานและอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ไม่ควรให้ผู้ใช้รู้สึกว่าถูกบีบหรืออึดอัดในการใช้งาน มิฉะนั้นแล้วระบบสารสนเทศจะไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้


  • สรุปและพยากรณ์ผลการดำเนินการทั้งด้านการลงทุนและสิ่งที่จะได้รับหลังการดำเนินการ เพื่อให้ผู้บริหารตัดสินใจว่าคุ้มกับการลงทุนหรือไม่และจะมีการดำเนินการอย่างไรต่อไป


  • สรุป แผนแม่บทไอทีเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญในการดำเนินการทางด้านสารสนเทศของหน่วยงานต่าง ๆ และแผนแม่บทนี้จะบรรลุวัตถุประสงค์ก็ต่อเมื่อบุคลากรที่ใช้เห็นความสำคัญและสามารถใช้งานได้จริง รวมถึงผลลัพธ์ทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพที่ได้นั้นต้องเพิ่มขึ้นคุ้มค่ากับการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นงานบริการหรือการค้าก็ตาม