วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

aftc สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า

 
ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาธุรกิจการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในประเทศไทยของสำนักงานคณะกรรมการ ก.ส.ล. สำหรับปีงบประมาณ 2551 – 2553
  1. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ AFET
  2. สร้างความเข้มแข็งและเพิ่มจำนวนของผู้ประกอบธุรกิจการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า
  3. เพิ่มบทบาทของ AFET ในการบริหารความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตรให้กับภาครัฐ
  4. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า แก่ผู้ที่อยู่ในภาคเกษตรและผู้สนใจทั่วไป
  5. เพิ่มศักยภาพของสำนักงาน ก.ส.ล. ในการเป็นองค์กรกำกับและพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ




ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ AFET ให้ความสำคัญกับ
ก.  สนับสนุน AFET ในเรื่องดังต่อไปนี้
          ก.1    การพัฒนา Contract Specifications ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ลงทุน รวมถึงมีความเป็นธรรมกับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย 
          ก.2    การปรับต้นทุนการซื้อขายล่วงหน้า (Transaction Cost) ในระดับที่เหมาะสมและแข่งขันได้ เพื่อจูงใจผู้ลงทุนเข้ามาซื้อขายล่วงหน้ามากขึ้น
          ก.3    การพิจารณาใช้ผู้ดูแลสภาพคล่องใน AFET (Market Maker)
ข.  เสริมสร้างความเชื่อมั่นใน AFET
          การเสริมสร้างความเชื่อมั่นใน AFET โดยการแก้ไขกฎหมายเพื่อเพิ่มความคุ้มครองผู้ลงทุน เช่น ในกรณีที่นายหน้าซื้อขายล่วงหน้าล้มละลาย  ทบทวนฐานความผิดในกรณีการสร้างราคา (Manipulation) และกำหนดบทลงโทษโบรกเกอร์เถื่อน เป็นต้น
ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างความเข้มแข็งและเพิ่มจำนวนของผู้ประกอบธุรกิจการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ให้ความสำคัญกับ
ก.  ประสานกับ AFET ในเรื่องต่อไปนี้
          ก.1    การพัฒนาศักยภาพของนายหน้าซื้อขายล่วงหน้าในการให้บริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม โดยการจัดอบรมอย่างต่อเนื่องและเข้มข้นขึ้น รวมถึง มีการเข้าตรวจกิจการเป็นประจำเพื่อป้องกันการเอาเปรียบลูกค้า
          ก.2    การเพิ่มช่องทางและโอกาสในการประกอบธุรกิจการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า
          ก.3    การเพิ่มจำนวนผู้ประกอบธุรกิจการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าที่มีศักยภาพ โดยกำหนดมาตรการที่จูงใจสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม และเน้นการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจที่จะเข้ามาประกอบธุรกิจฯ
ข.  การกำกับดูแลอย่างเหมาะสมและเข้าใจธุรกิจ
          การกำกับดูแลอย่างเหมาะสมและเข้าใจธุรกิจ โดยการปรับปรุงและพัฒนาหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ให้มีความยืดหยุ่นและผ่อนคลายในการประกอบธุรกิจฯ โดยยังคงคำนึงถึง หลักการกำกับดูแลและบริหารความเสี่ยงของธุรกิจการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในภาพรวม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เพิ่มบทบาทของ AFET ในการบริหารความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตรให้กับภาครัฐ ให้ความสำคัญกับ
          ก.   การส่งเสริมให้ภาครัฐนำสินค้าเกษตรในสต็อกออกจำหน่าย โดยวิธีประมูลแบบ Basis ซึ่งใช้กลไกของ AFET (การประมูลแบบใหม่) อย่างต่อเนื่อง
          ข.   การส่งเสริมให้ภาครัฐหันมาใช้ประโยชน์จากกลไก AFET ด้วยโครงการนำร่องใช้กลไกของ AFET เพื่อประกันราคาข้าวเปลือกขั้นต่ำ (ปรข.) และพัฒนาต่อเนื่องเป็นโครงการถาวรทดแทนโครงการรับจำนำในระยะยาวต่อไป
ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าแก่ผู้ที่อยู่ในภาคเกษตรและผู้สนใจทั่วไป ให้ความสำคัญกับ
          ก.   การพัฒนาสื่อให้ความรู้ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเนื้อหาและรูปแบบที่เหมาะสม ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย รวมถึงเผยแพร่สู่ประชาชนให้รับทราบประโยชน์ของตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าในวงกว้าง
          ข.   การพัฒนาศูนย์พัฒนาความรู้การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าอย่างต่อเนื่อง
          ค.   การสร้างเครือข่ายกระจายความรู้สู่สาธารณชนอย่างกว้างขวาง
          ง.   การวางรากฐานความรู้เกี่ยวกับการซื้อขายล่วงหน้าสู่เยาวชน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 เพิ่มศักยภาพของสำนักงาน ก.ส.ล. ในการเป็นองค์กรกำกับและพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ ให้ความสำคัญกับ
          ก.   การพัฒนาความรู้และทักษะของพนักงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของสำนักงาน ก.ส.ล.
          ข.   การสร้างพันธมิตรกับหน่วยงานกำกับดูแลต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า
          ค.   การพัฒนาระบบการบริหารงานภายในให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น